วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

e-Pedagogy (รูปแบบการสอนที่ใช้เทคโนโลยี)

Pedagogy
---------------------------
               Pedagogy หมายถึง  ศิลป์และศาสตร์ของการเป็นครู ซึ่งขยายความถึงการใช้เทคนิควิธีทางการสอนและอื่น ๆ อีกมากที่เกี่ยวกับการสอน 
            คำว่า Pedagogy มาจากคำว่า Paidagogos ในภาษากรีกโบราณ หมายถึง ทาส ที่ทำหน้าที่สั่งสอนแนะนำการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของทาสตามที่เจ้านายต้องการ และเด็ก ๆ ที่อยู่ในความดูแลของ Paidagogos ก็ล้วนเป็นทาสทั้งนั้น ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นทาสนั้นไม่ต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนจากผู้เป็นทาส จึงเป็นหน้าที่ของ Paidagogos ที่ทำหน้าที่ฝึกลูกทาสเหมือนกับครูฝึกทหาร (Drill Sergeant) เพื่อให้มั่นใจว่าทาสเหล่านั้นจะทำหน้าที่ได้อย่างดีตามที่เจ้านายต้องการ คำว่า “paidia” () หมายถึงเด็ก ๆ (Children) ในภาษากรีก
            การให้ความแตกต่างระหว่างการสอนเด็กกับการสอนผู้ใหญ่ จะใช้คำว่า Andragogy ซึ่งหมายถึง การสอนผู้ใหญ่ (Teaching Adults) ผู้ที่ใช้คำ Andragogy เป็นคนแรก คือ Alexander Kapp ในปี ค.ศ.1833 เขาเป็นนักการศึกษาชาวเยอรมนี ต่อมานักการศึกษาชาวอเมริกันชื่อ Malcolm Knowles (มีชีวิตในระหว่าง วันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1913 ถึง วันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997) ได้พัฒนาทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ขึ้น และต้องการให้ Adragogy ซึ่งมาจากภาษากรีกหมายความถึงผู้ใหญ่ (Adult-Leading) แตกต่างจาก Pedagogy ซึ่งหมายความถึงเด็ก ๆ (Child-Leading) และแสดงให้เห็นว่าการสอนผู้ใหญ่มีความแตกต่างจากการสอนเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนการสอนอาชีวศึกษาและการฝึกอาชีพรวมทั้งการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาด้วย
             อย่างไรก็ตามทฤษฎีของ Knowles ที่สรุปมาจากหนังสือชื่อ Self-Directed Learning: A Guide for Learning and Teacher ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1975 ได้รับการโต้แย้งมากว่าแท้จริงแล้วเขาเพียงแค่ประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็กเท่านั้นเอง นอกจากนั้นนักการศึกษาชาว Brazilian ชื่อ Paulo Freire ซึงเป็นนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงในคริสศตวรรษที่ 20 ได้กล่าวถึง วิกฤติการณ์ของการสอนผู้ใหญ่ และใช้ความหมายของ Pedagogy หมายถึงการใช้ยุทธวิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมในการสอนผู้ใหญ่ จึงทำให้การใช้คำว่า Pedagogy และ Andragogy ปะปนกันและสลับกันไปมาอยู่บ่อย ๆ แต่ทั้งสองคำนี้ยังให้ความหมายในทำนองของการสอนโดยมีผู้สอนและผู้เรียนเป็นกลไกสำคัญ โดยเฉพาะการสอนให้กับคนที่ไม่รู้อะไรมาก่อนเลยเช่นเด็ก ๆ หรือการสอนผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ในการเรียนรู้หลายอย่างมาแล้วแต่ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็ตามหลักการและกระบวนการจะไม่แตกต่างกันมาก และมักจะอยู่บนสิ่งแวดล้อมการเรียนแบบเดิม ๆ ที่มีมนุษย์เป็นผู้สอนมนุษย์ที่เป็นผู้เรียน
            ดังนั้น e-pedagogy จึงเป็นการใช้รูปแบบวิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยเสริมให้มีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนเพิ่มขึ้น

ข้อมูลจาก   http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=19026&Key=news_research


ใน Blogger นี้จะนำเสนอ e-pedagogy หรือรูปแบบการสอนที่ใช้เทคโนโลยี  ใน 5 รูปแบบ ดังนี้

  1. การแบบบรรยาย (Lecture) คลิก
  2. การใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning) คลิก
  3. การใช้โครงการ (Project Based) คลิก
  4. การใช้กรณีศึกษา (Case Study) คลิก
  5. การใช้สถานการณ์และเกม (Simulation and Games) คลิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น