วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

e-pedagogy : Teaching by Project Based

Teaching by Project Based (การสอนแบบโครงการ)

ความหมาย
         การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตร มีอิสระเสรี ให้เกียรติให้ความสำคัญแก่เด็กในฐานะคนๆหนึ่งที่มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกคน สร้างความรู้สึกที่มั่นคง กล้าคิดกล้าแสดง กล้าลงมือทำ ครูเป็นผู้คอยให้การสนับสนุนคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ ครูจะไม่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่จะเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องราวที่เป็นความสนใจและท้าทายความสามารถของเด็ก  ให้โอกาสเด็กได้ค้นพบและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับสิ่งของ เรื่องราว สถานที่ บุคคลและเหตุการณ์ต่างๆภายในชุมชนของเด็ก ตามวิธีการของแต่ละบุคคล  เปิดโอกาสให้เด็กได้ประเมินผลการทำงานของตนเอง ได้เห็นพัฒนาการและความสำเร็จและล้มเหลวของตน ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับในทางบวกและคอยแนะนำช่วยเหลือให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม   
ลักษณะสำคัญของการสอนแบบโครงการ           
๑.  เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ร่วมกับระบบการสอนในหลักสูตรตามปกติ โดยโอกาสที่ครูจะใช้รูปแบบการเรียนการสอนนี้จะเกิดขึ้นภายใต้สภาพการเรียนการสอนตามปกติ เมื่อครูสังเกตเห็นว่าเด็กมีความสนใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นพิเศษ และต้องการจะศึกษาเรื่องนั้นต่อไป และครูพิจารณาว่าสามารถจัดกิจกรรมเพื่อศึกษาเรื่องนั้นได้และมีแหล่งทรัพยากรเพียงพอในการศึกษาเรื่องนั้น          
๒.  จุดเน้นสำคัญของการจัดการเรียนการสอนนี้มุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นหลักเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้ศึกษาเรื่องที่ตนสนใจ ในวิธีการของเด็กเอง  ดังนั้นการสอนแบบโครงการไม่มีการวางแผนการสอนอย่างชัดเจนไว้ล่วงหน้า   ครูผู้สอนคอยจะสังเกตจนพบความความสนใจของเด็ก แล้วจึงจะสามารถร่วมกันวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันกับเด็กขึ้นและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการความสนใจของเด็ก        
๓. แม้ว่าการสอนแบบโครงการจะมุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล แต่ในการเลือกหัวข้อของโครงการที่จะทำการศึกษานั้น เด็กทั้งกลุ่มจะร่วมกันเลือกหัวข้อของโครงการร่วมกัน ภายใต้กรอบความสนใจของเด็กส่วนใหญ่ในห้องเรียนและภายใต้การพิจารณาของครูว่าหัวข้อดังกล่าวสามารถเลือกเป็นหัวข้อโครงการได้หรือไม่ โดยครูพิจารณาเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของโครงการดังนี้
      ๑) เป็นหัวข้อที่เด็กทุกคนหรือเด็กส่วนใหญ่ของกลุ่มสนใจ
      ๒) มีแหล่งทรัพยากรในท้องถิ่นเพียงพอที่จะจัดกิจกรรมในหัวข้อโครงการนี้ได้
      ๓) เป็นหัวข้อที่เด็กพอจะมีประสบการณ์อยู่บ้างแล้ว
      ๔) เป็นหัวข้อที่เด็กสามารถใช้ประสบการณ์ตรงในการค้นหาข้อมูลข้อเท็จจริงได้
      ๕) เป็นเรื่องที่เป็นจริง สามารถให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับเรื่องนั้นได้
      ๖) เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้มีการร่วมมือกันทำงาน 
      ๗) เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สร้างสิ่งของหรือเล่นสมมุติ
      ๘) เป็นหัวข้อที่มีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
      ๙) เด็กมีโอกาสใช้ทักษะต่างๆในการเรียนรู้ 
    ๑๐) ผู้ปกครองมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ 
๔. การสอนแบบโครงการต้องการครูที่มีคุณลักษณะสำคัญอย่างยิ่งคือต้องเป็นผู้ที่ยอมรับเด็กโดยแท้ เชื่อมั่นว่าเด็กสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเด็กเอง โดยครูจะต้องแสดงบทบาทผู้ฟังที่ดีให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความต้องการความสนใจของเด็กและจัดกิจกรรมตามความสนใจของเด็กอย่างแท้จริง ต้องไม่แสดงบทบาทของผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ไม่เป็นผู้กำหนดกิจกรรมให้เด็กทำตามความคิดของครู    
หลักการและแนวคิดสำคัญของการสอนแบบโครงการ         
๑.  เด็กศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกลงไปในรายละเอียดของเรื่องนั้น ด้วยกระบวนการคิดและแก้ปัญหาของเด็กเองจนพบคำตอบที่ต้องการ        
๒.  เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็กเอง        
๓.  ประเด็นที่ศึกษา เกิดจากข้อสงสัยหรือปัญหาของเด็กเอง        
๔.  เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษาโดยการสังเกตอย่างใกล้ชิดจากแหล่งความรู้เบื้องต้น        
๕.  ระยะเวลาการสอนยาวนานอย่างเพียงพอตามความสนใจของเด็ก       
๖.  เด็กได้ประสบทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จในการศึกษาตามกระบวนการแก้ปัญหา ของเด็ก        
๗. ความรู้ใหม่ที่ได้จากกระบวนการศึกษาและการแก้ปัญหาของเด็กเป็นสิ่งที่เด็กใช้กำหนดประเด็นศึกษาขึ้นใหม่ หรือใช้ปฏิบัติกิจกรรมที่เด็กต้องการ        
๘. เด็กได้นำเสนอกระบวนการศึกษา และผลงานต่อคนอื่น        
๙. ครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือกำหนดกิจกรรมให้เด็กทำ แต่เป็นผู้กระตุ้นให้เด็กใช้ภาษาหรือสัญญลักษณ์อื่นๆเพื่อจัดระบบความคิด และสนับสนุนให้เด็กใช้ความรู้ทักษะที่มีอยู่คิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
วัตถุประสงค์ของการสอนแบบโครงการ
    .  พัฒนาทักษะการคิดของเด็ก        
    ๒.   พัฒนาทักษะการลงมือปฏิบัติของเด็ก
    .  พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็ก
    ๔.    เสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กวัย 

http://www.gotoknow.org/posts/69385



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น