วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

TRENDS in EDUCATION

from class DR.Vitwat disayasarin satyarat...president of a Hatyai university (ดร.วิทวัส ดิษยะศริน  สัตยารัตษ์) อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่

การ Review ควรยกประเด็นที่แตกต่างบ้าง  ที่มีมุมองที่หลากหลายในการนำเสนอ ไม่คงตัวบทความที่สนับสนุนงานวิจัยของเราอย่างเดียว

บทความที่อ่านในชั้นเรียน
international trends in education..educational review vol 23 no 1. Denis Sinyolo


Guru on

Micheal Fullan - Leadership (Canada)
Brian C


Website

Go to know



clip did you know



i-tunes U


open course ware (MIT)


Khan academy




พรบ.การศึกษา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2550


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม 2545



วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

e-pedagogy : Teaching by Simulation and Games

Teaching by Simulation and Games (การใช้สถานการณ์จำลองและเกม)


ความหมาย
         วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียงกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
วัตถุประสงค์
         วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ หรือเรื่องที่มีตัวแปรจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน
องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน
            1  มีสถานการณ์  ข้อมูล บทบาทและกติกา ที่สะท้อนความเป็นจริง
            2  ผู้เล่นในสถานการณ์มีปฏิสัมพันธ์กันหรือมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์นั้น
            3  ผู้เล่นหรือผู้สวมบทบาทมีการใช้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ
            4  การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
            5  มีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น เพื่อการเรียนรู้

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ 

      1.   power point เรื่อง เกมและสถานการณ์จำลอง   คลิก
      2.   TEACHING ICT WITH SIMULATIONS, PERFORMANCE ASSESSMENT, AND GAMES

  1. 3.  Zapitalism - LavaMind's Business Simulation Games


e-pedagogy : Teaching by Case Study

Teaching by Case Study (การใช้กรณีศึกษา)


ความหมาย
       กรณีศึกษาเป็นการนำเสนอสถานการณ์ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับองค์การและบุคคลต่างๆ อาจไม่เปิดเผยชื่อสถานที่ ตัวบุคคลจริง และมีการปรับเปลี่ยนตัวเลขข้อมูลบางอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ หรือความเสียหายที่อาจจะได้รับ ทั้งนี้กรณีศึกษาจะต้องไม่มีการวิเคราะห์อยู่ในตัวเนื้อหา

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ความรู้และทฤษฎีต่างๆ ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง
  2. เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษาในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
  3. เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงสถานการณ์จริงกับทฤษฎีต่างๆ ที่ได้เรียนมา
  4. เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
  5. เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถในการสื่อสาร และการนำเสนอในรูปการเขียน และการพูด
http://members.tripod.com/inter_siamu/casemethod.htm

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ 
  1. บทความ เรื่อง กรณีศึกษา   คลิก


e-pedagogy : Teaching by Project Based

Teaching by Project Based (การสอนแบบโครงการ)

ความหมาย
         การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตร มีอิสระเสรี ให้เกียรติให้ความสำคัญแก่เด็กในฐานะคนๆหนึ่งที่มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกคน สร้างความรู้สึกที่มั่นคง กล้าคิดกล้าแสดง กล้าลงมือทำ ครูเป็นผู้คอยให้การสนับสนุนคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ ครูจะไม่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่จะเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องราวที่เป็นความสนใจและท้าทายความสามารถของเด็ก  ให้โอกาสเด็กได้ค้นพบและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับสิ่งของ เรื่องราว สถานที่ บุคคลและเหตุการณ์ต่างๆภายในชุมชนของเด็ก ตามวิธีการของแต่ละบุคคล  เปิดโอกาสให้เด็กได้ประเมินผลการทำงานของตนเอง ได้เห็นพัฒนาการและความสำเร็จและล้มเหลวของตน ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับในทางบวกและคอยแนะนำช่วยเหลือให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม   
ลักษณะสำคัญของการสอนแบบโครงการ           
๑.  เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ร่วมกับระบบการสอนในหลักสูตรตามปกติ โดยโอกาสที่ครูจะใช้รูปแบบการเรียนการสอนนี้จะเกิดขึ้นภายใต้สภาพการเรียนการสอนตามปกติ เมื่อครูสังเกตเห็นว่าเด็กมีความสนใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นพิเศษ และต้องการจะศึกษาเรื่องนั้นต่อไป และครูพิจารณาว่าสามารถจัดกิจกรรมเพื่อศึกษาเรื่องนั้นได้และมีแหล่งทรัพยากรเพียงพอในการศึกษาเรื่องนั้น          
๒.  จุดเน้นสำคัญของการจัดการเรียนการสอนนี้มุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นหลักเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้ศึกษาเรื่องที่ตนสนใจ ในวิธีการของเด็กเอง  ดังนั้นการสอนแบบโครงการไม่มีการวางแผนการสอนอย่างชัดเจนไว้ล่วงหน้า   ครูผู้สอนคอยจะสังเกตจนพบความความสนใจของเด็ก แล้วจึงจะสามารถร่วมกันวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันกับเด็กขึ้นและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการความสนใจของเด็ก        
๓. แม้ว่าการสอนแบบโครงการจะมุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล แต่ในการเลือกหัวข้อของโครงการที่จะทำการศึกษานั้น เด็กทั้งกลุ่มจะร่วมกันเลือกหัวข้อของโครงการร่วมกัน ภายใต้กรอบความสนใจของเด็กส่วนใหญ่ในห้องเรียนและภายใต้การพิจารณาของครูว่าหัวข้อดังกล่าวสามารถเลือกเป็นหัวข้อโครงการได้หรือไม่ โดยครูพิจารณาเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของโครงการดังนี้
      ๑) เป็นหัวข้อที่เด็กทุกคนหรือเด็กส่วนใหญ่ของกลุ่มสนใจ
      ๒) มีแหล่งทรัพยากรในท้องถิ่นเพียงพอที่จะจัดกิจกรรมในหัวข้อโครงการนี้ได้
      ๓) เป็นหัวข้อที่เด็กพอจะมีประสบการณ์อยู่บ้างแล้ว
      ๔) เป็นหัวข้อที่เด็กสามารถใช้ประสบการณ์ตรงในการค้นหาข้อมูลข้อเท็จจริงได้
      ๕) เป็นเรื่องที่เป็นจริง สามารถให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับเรื่องนั้นได้
      ๖) เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้มีการร่วมมือกันทำงาน 
      ๗) เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สร้างสิ่งของหรือเล่นสมมุติ
      ๘) เป็นหัวข้อที่มีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
      ๙) เด็กมีโอกาสใช้ทักษะต่างๆในการเรียนรู้ 
    ๑๐) ผู้ปกครองมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ 
๔. การสอนแบบโครงการต้องการครูที่มีคุณลักษณะสำคัญอย่างยิ่งคือต้องเป็นผู้ที่ยอมรับเด็กโดยแท้ เชื่อมั่นว่าเด็กสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเด็กเอง โดยครูจะต้องแสดงบทบาทผู้ฟังที่ดีให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความต้องการความสนใจของเด็กและจัดกิจกรรมตามความสนใจของเด็กอย่างแท้จริง ต้องไม่แสดงบทบาทของผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ไม่เป็นผู้กำหนดกิจกรรมให้เด็กทำตามความคิดของครู    
หลักการและแนวคิดสำคัญของการสอนแบบโครงการ         
๑.  เด็กศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกลงไปในรายละเอียดของเรื่องนั้น ด้วยกระบวนการคิดและแก้ปัญหาของเด็กเองจนพบคำตอบที่ต้องการ        
๒.  เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็กเอง        
๓.  ประเด็นที่ศึกษา เกิดจากข้อสงสัยหรือปัญหาของเด็กเอง        
๔.  เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษาโดยการสังเกตอย่างใกล้ชิดจากแหล่งความรู้เบื้องต้น        
๕.  ระยะเวลาการสอนยาวนานอย่างเพียงพอตามความสนใจของเด็ก       
๖.  เด็กได้ประสบทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จในการศึกษาตามกระบวนการแก้ปัญหา ของเด็ก        
๗. ความรู้ใหม่ที่ได้จากกระบวนการศึกษาและการแก้ปัญหาของเด็กเป็นสิ่งที่เด็กใช้กำหนดประเด็นศึกษาขึ้นใหม่ หรือใช้ปฏิบัติกิจกรรมที่เด็กต้องการ        
๘. เด็กได้นำเสนอกระบวนการศึกษา และผลงานต่อคนอื่น        
๙. ครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือกำหนดกิจกรรมให้เด็กทำ แต่เป็นผู้กระตุ้นให้เด็กใช้ภาษาหรือสัญญลักษณ์อื่นๆเพื่อจัดระบบความคิด และสนับสนุนให้เด็กใช้ความรู้ทักษะที่มีอยู่คิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
วัตถุประสงค์ของการสอนแบบโครงการ
    .  พัฒนาทักษะการคิดของเด็ก        
    ๒.   พัฒนาทักษะการลงมือปฏิบัติของเด็ก
    .  พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็ก
    ๔.    เสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กวัย 

http://www.gotoknow.org/posts/69385



e-pedagogy : Teaching by Problem Based

Teaching by Problem Based (การใช้ปัญหาเป็นหลัก)


ความหมาย
 ชวลิต ชูกำแพง (2551 : 135) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นรูปแบบการเรียนรู้ ที่เกิดจากแนวคิดตามทฤษฏีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้จากการใช้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นริบทของการเรียนรู้ 

มัณฑรา ธรรมบุศย์ (2545 : 11-17) กล่าวว่า การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem based Learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามแนวคิดตามทฤษฎีการ เรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิด ขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบท (Context) ของการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิด
วิเคราะห์และการแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขากลุ่มสาระที่ตนศึกษาด้วย การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก

วัลลี สัตยาศัย (2547 : 16) กล่าวว่า การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก หรือ PBL คือ วิธีการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วยการใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าศึกษาความรู้ด้วยวิธี การต่างๆจากแหล่งวิทยาการที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยมีการศึกษาหรือเตรียมตัว ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวมาก่อน 

         ดังนั้น การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ วิธีการที่นักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเรียนรู้โดยใช้ประเด็น สำคัญในกรณีปัญหาที่เป็นจริงหรือกำหนดขึ้น เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองโดยการสืบ ค้นข้อมูลหาความรู้หรือทักษะต่างๆแล้วนำความรู้ที่ค้นหามาเล่าสู่กันฟังพร้อมทั้งร่วมกันอภิปรายร่วม กันเรียนรู้แล้วลงสรุปความรู้ใหม่

กลไกพื้นฐานในการเรียนรู้

      ในการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนั้นสิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ การให้ผู้ 
เรียนได้ผ่านการเรียนรู้ต่างๆอย่างครบถ้วน 3 ประการ คือ 
1. Problem-based Leaning คือ ขบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ “ปัญหา” เป็นหลัก ในการแสวงหาความรู้ด้วยกลวิธีหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐานอันเป็นการแก้ปัญหานั้น โดยผู้เรียนจะต้องนำปัญหาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ความคิดที่มีเหตุผล และมีการแสวงหาความรู้ใหม่ขบวนการเรียนรู้แบบ Problem-based สามารถเกิดขึ้นได้กับการเรียนรายบุคคล หรือการเรียนกลุ่มย่อยได้ แต่การเรียนแบบกลุ่มย่อยจะช่วยให้รวบรวมแนวคิดในการแก้ปัญหาได้กว้างขวางมากกว่า 
2. Self-directed Learning คือ ขบวนการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการใช้ความ รู้ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการกำหนดการดำเนินงานของตนเอง และการประเมินผลของตนเอง ตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์งานของตนเองด้วย 
3. Small-group Learning คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม และยอมรับประโยชน์ของการทำงานร่วมกัน ค้นคว้าหาแนวความคิดใหม่ๆ

https://sites.google.com/site/prapasara/a2-5





e-pedagogy : Teaching by Lecture

Teaching by Lecture (การสอนแบบบรรยาย)
===================================

ความหมาย
วิธีการสอนแบบบรรยาย หมายถึง วิธีสอนที่ผู้สอนบอกเล่า อธิบาย เนื้อหาเรื่องราวต่างๆให้แก่ผู้เรียน โดยที่ผู้สอนเตรียมการ ค้นคว้าเนื้อหามาเป็นอย่างดี โดยทั่วไปมักจะเป็นการสื่อความหมายทางเดียว คือจากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีส่วนร่วมน้อย เพียงแต่ฟัง จดบันทึก ซักถามบางครั้ง วิธีสอนแบบนี้จะยึดบทบาทของผู้สอนเป็นสำคัญ
ความมุ่งหมาย
1.   เพื่อให้ความรู้หรือประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียน เป็นความรู้ที่ค้นคว้า หาได้ยาก หรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
2.   เพื่อช่วยนำทางในการอ่านหนังสือของผู้เรียน และช่วยสรุปประเด็นสำคัญในกรณีที่ผู้สอนมอบหมายให้ไปอ่านมาล่วงหน้า
3.   เพื่อมุ่งถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในเวลาที่จำกัด
http://ae.edu.swu.ac.th/project/ed322/principles%20of%20teaching/oldweb/P8.1.htm

แหล่งข้อฒูล
บทความ
The effect of teaching method on objective test scores: problem-based learning versus lecture.....clic