วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

TRENDS in EDUCATION

from class DR.Vitwat disayasarin satyarat...president of a Hatyai university (ดร.วิทวัส ดิษยะศริน  สัตยารัตษ์) อธิการบดีมหาวิทยาลัยหาดใหญ่

การ Review ควรยกประเด็นที่แตกต่างบ้าง  ที่มีมุมองที่หลากหลายในการนำเสนอ ไม่คงตัวบทความที่สนับสนุนงานวิจัยของเราอย่างเดียว

บทความที่อ่านในชั้นเรียน
international trends in education..educational review vol 23 no 1. Denis Sinyolo


Guru on

Micheal Fullan - Leadership (Canada)
Brian C


Website

Go to know



clip did you know



i-tunes U


open course ware (MIT)


Khan academy




พรบ.การศึกษา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2550


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม 2545



วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

e-pedagogy : Teaching by Simulation and Games

Teaching by Simulation and Games (การใช้สถานการณ์จำลองและเกม)


ความหมาย
         วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้น โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียงกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
วัตถุประสงค์
         วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ หรือเรื่องที่มีตัวแปรจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน
องค์ประกอบสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน
            1  มีสถานการณ์  ข้อมูล บทบาทและกติกา ที่สะท้อนความเป็นจริง
            2  ผู้เล่นในสถานการณ์มีปฏิสัมพันธ์กันหรือมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์นั้น
            3  ผู้เล่นหรือผู้สวมบทบาทมีการใช้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ
            4  การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
            5  มีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น เพื่อการเรียนรู้

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ 

      1.   power point เรื่อง เกมและสถานการณ์จำลอง   คลิก
      2.   TEACHING ICT WITH SIMULATIONS, PERFORMANCE ASSESSMENT, AND GAMES

  1. 3.  Zapitalism - LavaMind's Business Simulation Games


e-pedagogy : Teaching by Case Study

Teaching by Case Study (การใช้กรณีศึกษา)


ความหมาย
       กรณีศึกษาเป็นการนำเสนอสถานการณ์ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับองค์การและบุคคลต่างๆ อาจไม่เปิดเผยชื่อสถานที่ ตัวบุคคลจริง และมีการปรับเปลี่ยนตัวเลขข้อมูลบางอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ หรือความเสียหายที่อาจจะได้รับ ทั้งนี้กรณีศึกษาจะต้องไม่มีการวิเคราะห์อยู่ในตัวเนื้อหา

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ความรู้และทฤษฎีต่างๆ ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง
  2. เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษาในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
  3. เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงสถานการณ์จริงกับทฤษฎีต่างๆ ที่ได้เรียนมา
  4. เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน
  5. เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถในการสื่อสาร และการนำเสนอในรูปการเขียน และการพูด
http://members.tripod.com/inter_siamu/casemethod.htm

แหล่งข้อมูลอื่น ๆ 
  1. บทความ เรื่อง กรณีศึกษา   คลิก


e-pedagogy : Teaching by Project Based

Teaching by Project Based (การสอนแบบโครงการ)

ความหมาย
         การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายใต้บรรยากาศที่เป็นมิตร มีอิสระเสรี ให้เกียรติให้ความสำคัญแก่เด็กในฐานะคนๆหนึ่งที่มีสิทธิเท่าเทียมกันทุกคน สร้างความรู้สึกที่มั่นคง กล้าคิดกล้าแสดง กล้าลงมือทำ ครูเป็นผู้คอยให้การสนับสนุนคอยช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ ครูจะไม่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ แต่จะเป็นผู้จัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมในเรื่องราวที่เป็นความสนใจและท้าทายความสามารถของเด็ก  ให้โอกาสเด็กได้ค้นพบและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงกับสิ่งของ เรื่องราว สถานที่ บุคคลและเหตุการณ์ต่างๆภายในชุมชนของเด็ก ตามวิธีการของแต่ละบุคคล  เปิดโอกาสให้เด็กได้ประเมินผลการทำงานของตนเอง ได้เห็นพัฒนาการและความสำเร็จและล้มเหลวของตน ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับในทางบวกและคอยแนะนำช่วยเหลือให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม   
ลักษณะสำคัญของการสอนแบบโครงการ           
๑.  เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ร่วมกับระบบการสอนในหลักสูตรตามปกติ โดยโอกาสที่ครูจะใช้รูปแบบการเรียนการสอนนี้จะเกิดขึ้นภายใต้สภาพการเรียนการสอนตามปกติ เมื่อครูสังเกตเห็นว่าเด็กมีความสนใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นพิเศษ และต้องการจะศึกษาเรื่องนั้นต่อไป และครูพิจารณาว่าสามารถจัดกิจกรรมเพื่อศึกษาเรื่องนั้นได้และมีแหล่งทรัพยากรเพียงพอในการศึกษาเรื่องนั้น          
๒.  จุดเน้นสำคัญของการจัดการเรียนการสอนนี้มุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นหลักเพื่อให้เด็กมีโอกาสได้ศึกษาเรื่องที่ตนสนใจ ในวิธีการของเด็กเอง  ดังนั้นการสอนแบบโครงการไม่มีการวางแผนการสอนอย่างชัดเจนไว้ล่วงหน้า   ครูผู้สอนคอยจะสังเกตจนพบความความสนใจของเด็ก แล้วจึงจะสามารถร่วมกันวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันกับเด็กขึ้นและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการความสนใจของเด็ก        
๓. แม้ว่าการสอนแบบโครงการจะมุ่งที่ความสนใจของเด็กเป็นรายบุคคล แต่ในการเลือกหัวข้อของโครงการที่จะทำการศึกษานั้น เด็กทั้งกลุ่มจะร่วมกันเลือกหัวข้อของโครงการร่วมกัน ภายใต้กรอบความสนใจของเด็กส่วนใหญ่ในห้องเรียนและภายใต้การพิจารณาของครูว่าหัวข้อดังกล่าวสามารถเลือกเป็นหัวข้อโครงการได้หรือไม่ โดยครูพิจารณาเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อของโครงการดังนี้
      ๑) เป็นหัวข้อที่เด็กทุกคนหรือเด็กส่วนใหญ่ของกลุ่มสนใจ
      ๒) มีแหล่งทรัพยากรในท้องถิ่นเพียงพอที่จะจัดกิจกรรมในหัวข้อโครงการนี้ได้
      ๓) เป็นหัวข้อที่เด็กพอจะมีประสบการณ์อยู่บ้างแล้ว
      ๔) เป็นหัวข้อที่เด็กสามารถใช้ประสบการณ์ตรงในการค้นหาข้อมูลข้อเท็จจริงได้
      ๕) เป็นเรื่องที่เป็นจริง สามารถให้เด็กมีประสบการณ์ตรงกับเรื่องนั้นได้
      ๖) เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้มีการร่วมมือกันทำงาน 
      ๗) เป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ สร้างสิ่งของหรือเล่นสมมุติ
      ๘) เป็นหัวข้อที่มีความสัมพันธ์กับจุดประสงค์ของการเรียนการสอน
      ๙) เด็กมีโอกาสใช้ทักษะต่างๆในการเรียนรู้ 
    ๑๐) ผู้ปกครองมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ 
๔. การสอนแบบโครงการต้องการครูที่มีคุณลักษณะสำคัญอย่างยิ่งคือต้องเป็นผู้ที่ยอมรับเด็กโดยแท้ เชื่อมั่นว่าเด็กสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเด็กเอง โดยครูจะต้องแสดงบทบาทผู้ฟังที่ดีให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความต้องการความสนใจของเด็กและจัดกิจกรรมตามความสนใจของเด็กอย่างแท้จริง ต้องไม่แสดงบทบาทของผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ไม่เป็นผู้กำหนดกิจกรรมให้เด็กทำตามความคิดของครู    
หลักการและแนวคิดสำคัญของการสอนแบบโครงการ         
๑.  เด็กศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกลงไปในรายละเอียดของเรื่องนั้น ด้วยกระบวนการคิดและแก้ปัญหาของเด็กเองจนพบคำตอบที่ต้องการ        
๒.  เรื่องที่ศึกษากำหนดโดยเด็กเอง        
๓.  ประเด็นที่ศึกษา เกิดจากข้อสงสัยหรือปัญหาของเด็กเอง        
๔.  เด็กได้มีประสบการณ์ตรงกับเรื่องที่ศึกษาโดยการสังเกตอย่างใกล้ชิดจากแหล่งความรู้เบื้องต้น        
๕.  ระยะเวลาการสอนยาวนานอย่างเพียงพอตามความสนใจของเด็ก       
๖.  เด็กได้ประสบทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จในการศึกษาตามกระบวนการแก้ปัญหา ของเด็ก        
๗. ความรู้ใหม่ที่ได้จากกระบวนการศึกษาและการแก้ปัญหาของเด็กเป็นสิ่งที่เด็กใช้กำหนดประเด็นศึกษาขึ้นใหม่ หรือใช้ปฏิบัติกิจกรรมที่เด็กต้องการ        
๘. เด็กได้นำเสนอกระบวนการศึกษา และผลงานต่อคนอื่น        
๙. ครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ หรือกำหนดกิจกรรมให้เด็กทำ แต่เป็นผู้กระตุ้นให้เด็กใช้ภาษาหรือสัญญลักษณ์อื่นๆเพื่อจัดระบบความคิด และสนับสนุนให้เด็กใช้ความรู้ทักษะที่มีอยู่คิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
วัตถุประสงค์ของการสอนแบบโครงการ
    .  พัฒนาทักษะการคิดของเด็ก        
    ๒.   พัฒนาทักษะการลงมือปฏิบัติของเด็ก
    .  พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็ก
    ๔.    เสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กวัย 

http://www.gotoknow.org/posts/69385



e-pedagogy : Teaching by Problem Based

Teaching by Problem Based (การใช้ปัญหาเป็นหลัก)


ความหมาย
 ชวลิต ชูกำแพง (2551 : 135) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นรูปแบบการเรียนรู้ ที่เกิดจากแนวคิดตามทฤษฏีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้จากการใช้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นริบทของการเรียนรู้ 

มัณฑรา ธรรมบุศย์ (2545 : 11-17) กล่าวว่า การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem based Learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามแนวคิดตามทฤษฎีการ เรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิด ขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบท (Context) ของการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิด
วิเคราะห์และการแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขากลุ่มสาระที่ตนศึกษาด้วย การเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก

วัลลี สัตยาศัย (2547 : 16) กล่าวว่า การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก หรือ PBL คือ วิธีการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วยการใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าศึกษาความรู้ด้วยวิธี การต่างๆจากแหล่งวิทยาการที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยมีการศึกษาหรือเตรียมตัว ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวมาก่อน 

         ดังนั้น การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ วิธีการที่นักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเรียนรู้โดยใช้ประเด็น สำคัญในกรณีปัญหาที่เป็นจริงหรือกำหนดขึ้น เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองโดยการสืบ ค้นข้อมูลหาความรู้หรือทักษะต่างๆแล้วนำความรู้ที่ค้นหามาเล่าสู่กันฟังพร้อมทั้งร่วมกันอภิปรายร่วม กันเรียนรู้แล้วลงสรุปความรู้ใหม่

กลไกพื้นฐานในการเรียนรู้

      ในการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนั้นสิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ การให้ผู้ 
เรียนได้ผ่านการเรียนรู้ต่างๆอย่างครบถ้วน 3 ประการ คือ 
1. Problem-based Leaning คือ ขบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ “ปัญหา” เป็นหลัก ในการแสวงหาความรู้ด้วยกลวิธีหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐานอันเป็นการแก้ปัญหานั้น โดยผู้เรียนจะต้องนำปัญหาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ความคิดที่มีเหตุผล และมีการแสวงหาความรู้ใหม่ขบวนการเรียนรู้แบบ Problem-based สามารถเกิดขึ้นได้กับการเรียนรายบุคคล หรือการเรียนกลุ่มย่อยได้ แต่การเรียนแบบกลุ่มย่อยจะช่วยให้รวบรวมแนวคิดในการแก้ปัญหาได้กว้างขวางมากกว่า 
2. Self-directed Learning คือ ขบวนการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการใช้ความ รู้ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการกำหนดการดำเนินงานของตนเอง และการประเมินผลของตนเอง ตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์งานของตนเองด้วย 
3. Small-group Learning คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม และยอมรับประโยชน์ของการทำงานร่วมกัน ค้นคว้าหาแนวความคิดใหม่ๆ

https://sites.google.com/site/prapasara/a2-5





e-pedagogy : Teaching by Lecture

Teaching by Lecture (การสอนแบบบรรยาย)
===================================

ความหมาย
วิธีการสอนแบบบรรยาย หมายถึง วิธีสอนที่ผู้สอนบอกเล่า อธิบาย เนื้อหาเรื่องราวต่างๆให้แก่ผู้เรียน โดยที่ผู้สอนเตรียมการ ค้นคว้าเนื้อหามาเป็นอย่างดี โดยทั่วไปมักจะเป็นการสื่อความหมายทางเดียว คือจากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีส่วนร่วมน้อย เพียงแต่ฟัง จดบันทึก ซักถามบางครั้ง วิธีสอนแบบนี้จะยึดบทบาทของผู้สอนเป็นสำคัญ
ความมุ่งหมาย
1.   เพื่อให้ความรู้หรือประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียน เป็นความรู้ที่ค้นคว้า หาได้ยาก หรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
2.   เพื่อช่วยนำทางในการอ่านหนังสือของผู้เรียน และช่วยสรุปประเด็นสำคัญในกรณีที่ผู้สอนมอบหมายให้ไปอ่านมาล่วงหน้า
3.   เพื่อมุ่งถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในเวลาที่จำกัด
http://ae.edu.swu.ac.th/project/ed322/principles%20of%20teaching/oldweb/P8.1.htm

แหล่งข้อฒูล
บทความ
The effect of teaching method on objective test scores: problem-based learning versus lecture.....clic









e-Pedagogy (รูปแบบการสอนที่ใช้เทคโนโลยี)

Pedagogy
---------------------------
               Pedagogy หมายถึง  ศิลป์และศาสตร์ของการเป็นครู ซึ่งขยายความถึงการใช้เทคนิควิธีทางการสอนและอื่น ๆ อีกมากที่เกี่ยวกับการสอน 
            คำว่า Pedagogy มาจากคำว่า Paidagogos ในภาษากรีกโบราณ หมายถึง ทาส ที่ทำหน้าที่สั่งสอนแนะนำการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของทาสตามที่เจ้านายต้องการ และเด็ก ๆ ที่อยู่ในความดูแลของ Paidagogos ก็ล้วนเป็นทาสทั้งนั้น ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นทาสนั้นไม่ต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนจากผู้เป็นทาส จึงเป็นหน้าที่ของ Paidagogos ที่ทำหน้าที่ฝึกลูกทาสเหมือนกับครูฝึกทหาร (Drill Sergeant) เพื่อให้มั่นใจว่าทาสเหล่านั้นจะทำหน้าที่ได้อย่างดีตามที่เจ้านายต้องการ คำว่า “paidia” () หมายถึงเด็ก ๆ (Children) ในภาษากรีก
            การให้ความแตกต่างระหว่างการสอนเด็กกับการสอนผู้ใหญ่ จะใช้คำว่า Andragogy ซึ่งหมายถึง การสอนผู้ใหญ่ (Teaching Adults) ผู้ที่ใช้คำ Andragogy เป็นคนแรก คือ Alexander Kapp ในปี ค.ศ.1833 เขาเป็นนักการศึกษาชาวเยอรมนี ต่อมานักการศึกษาชาวอเมริกันชื่อ Malcolm Knowles (มีชีวิตในระหว่าง วันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1913 ถึง วันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997) ได้พัฒนาทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ขึ้น และต้องการให้ Adragogy ซึ่งมาจากภาษากรีกหมายความถึงผู้ใหญ่ (Adult-Leading) แตกต่างจาก Pedagogy ซึ่งหมายความถึงเด็ก ๆ (Child-Leading) และแสดงให้เห็นว่าการสอนผู้ใหญ่มีความแตกต่างจากการสอนเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนการสอนอาชีวศึกษาและการฝึกอาชีพรวมทั้งการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาด้วย
             อย่างไรก็ตามทฤษฎีของ Knowles ที่สรุปมาจากหนังสือชื่อ Self-Directed Learning: A Guide for Learning and Teacher ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1975 ได้รับการโต้แย้งมากว่าแท้จริงแล้วเขาเพียงแค่ประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็กเท่านั้นเอง นอกจากนั้นนักการศึกษาชาว Brazilian ชื่อ Paulo Freire ซึงเป็นนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงในคริสศตวรรษที่ 20 ได้กล่าวถึง วิกฤติการณ์ของการสอนผู้ใหญ่ และใช้ความหมายของ Pedagogy หมายถึงการใช้ยุทธวิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมในการสอนผู้ใหญ่ จึงทำให้การใช้คำว่า Pedagogy และ Andragogy ปะปนกันและสลับกันไปมาอยู่บ่อย ๆ แต่ทั้งสองคำนี้ยังให้ความหมายในทำนองของการสอนโดยมีผู้สอนและผู้เรียนเป็นกลไกสำคัญ โดยเฉพาะการสอนให้กับคนที่ไม่รู้อะไรมาก่อนเลยเช่นเด็ก ๆ หรือการสอนผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์ในการเรียนรู้หลายอย่างมาแล้วแต่ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็ตามหลักการและกระบวนการจะไม่แตกต่างกันมาก และมักจะอยู่บนสิ่งแวดล้อมการเรียนแบบเดิม ๆ ที่มีมนุษย์เป็นผู้สอนมนุษย์ที่เป็นผู้เรียน
            ดังนั้น e-pedagogy จึงเป็นการใช้รูปแบบวิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยเสริมให้มีรูปแบบการสอนที่น่าสนใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนเพิ่มขึ้น

ข้อมูลจาก   http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=19026&Key=news_research


ใน Blogger นี้จะนำเสนอ e-pedagogy หรือรูปแบบการสอนที่ใช้เทคโนโลยี  ใน 5 รูปแบบ ดังนี้

  1. การแบบบรรยาย (Lecture) คลิก
  2. การใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem Based Learning) คลิก
  3. การใช้โครงการ (Project Based) คลิก
  4. การใช้กรณีศึกษา (Case Study) คลิก
  5. การใช้สถานการณ์และเกม (Simulation and Games) คลิก